วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ตัวอย่างสื่อกราฟิก
















สิ่งที่ได้รับจากการเรียนวิชานวัตกรรมแห่งการเรียนรู้

........เริ่มจากที่ได้ทราบข่าวว่าจะต้องอบรม ก็รู้สึกว่าแล้วเราจะทำได้รึเปล่านี่ เพราะไม่มีความสามารถในด้านนี้เลย และพอตอนเย็นของวันนั้นนั่นเองท่านอาจารย์วิวรรธน์ ได้ทำให้หนูรู้ว่าการที่เรามีสมาธินั้นสามารถทำให้เราสามารถทำในสิ่งที่เราคิดว่ามันยากให้ง่ายขึ้นมาได้ คือเริ่มต้นจากการลากเส้น โดยอาจารย์สอนให้รู้ถึงจุดหมายที่จะไป และจงไปให้ถึงอย่างสวยงาม สิ่งที่ตามมาหลังจากการลากเส้น คือการใช้ปากกาในการวาดภาพ ซึ่งหนู่ไม่เคยเห็นมาก่อนและไมคิดว่าจะมีใครวาดได้ แต่แล้วสิ่งที่ว่ายากนั้นหนูก็สามารถทำมันได้ เพียงแค่ทำตามที่ท่านอาจารย์สอน รู้จักวิธีการใช้สีให้ถูกวิธี
.......สิ่งที่ได้รับจากการเรียนในครั้งนี้ยังมีอีกมากมายซึ่งหนูขอลำดับไว้ดังนี้นะคะ
การประดิษฐ์ตัวอักษรหัวเรื่องและเนื้อหา
** สูตรสี 3 แบบ คือ โทนร้อน โทนเย็น สีตัดกัน/กลมกลืนกัน
** หลักการออกแบบ
** การเข้าสุ่เมนูต่างๆของคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีการหลายๆวิธี
** การนำเสนองานด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint
** การตกแต่งและตัดแต่งรูปภาพด้วยโปรแกรม Photoshop
** เทคนิคลัดในการใช้คอมพิวเตอร์
** การสร้าง Blog ส่วนตัวเพื่อนำเสนอผลงานจากการเรียนวิชานี้
จากการเรียนวิชานี้ สามารถทำให้หนูเป็นคนที่ร่วมสมัย และในอนาคตจะต้องเป็นครูที่ร่วมสมัยเหมือนอาจารย์ให้ได้ค่ะ

********************************

***การใช้ Filter***

เมื่อได้ภาพที่ตัดสมบูรณ์แล้ว สามารถใช้ Filter ในการปรับแต่งภาพโดยวิธีดังนี้ เช่นไปที่ เมนู Filter > Stylize > Emboss สามารถปรับค่าต่างๆ ให้ภาพดูสวย พอใจแล้ว OKสามารถปรับแต่งภาพโดยใช้ Filter ได้หลายวิธีตามความต้องการ เช่น Sketch ,Artistic และอื่นๆโดยการ save ภาพต้นฉบับไว้ 1 ภาพ เพื่อสำหรับปรับแต่งภาพไว้หลายๆแบบ ไว้เลือกหรือเปรียบเทียบ

การเรียนโปรแกรม Photoshop

การออกแบบสื่อวัสดุกราฟิก

สื่อวัสดุกราฟิก "สีไม้"

ชื่อสื่อ The Zoo
ใช้สอนในช่วงชั้นที่ 3

****จุดประสงค์ของการใช้สื่อ
.......1.เพื่อให้นักเรียนได้เรียนคำศัพท์เกี่ยวกับสัตว์ที่อยู่ในรูปภาพ และนักเรียนสามารถบอกชื่อสัตว์ที่นอกเหนือจากรูปภาพได้
.......2.มุ่งให้นักเรียนสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องPreposition เกี่ยวกับคำศัพท์ในสื่อการสอนเรื่อง
The zoo
****ขั้นนำสื่อไปใช้
1. นำเข้าสู่บทเรียนโดยการสอน Preposition โดยมคำดังต่อไปนี้
across
above
below
over
under
before
after
around
between
among
at
behind
near
beside
on
in
outside
inside
2. ขั้นPresent ใช้สื่อกราฟิกสีไม้นำเสนอคำศัพท์เกี่ยวกับสัตว์ในภาพ
ครูยกตัวอย่างบทสนทนาที่เกี่ยวกับเนื่อเรื่องให้สอดคล้องกับกับรูปภาพ
3. ขั้นPractice
ครูให้บทสนทนากับนักเรียนได้ฝึกสนทนาออกเสียง โดยมีครูคอยช่วยเหลือเมื่อเด็กไม่เข้าใจ
ครูให้นักเรียนจับคู่สนทนาในหัวข้อสนทนาตามที่ครูกำหนด
ครูยกตัวอย่างโดยใช้ตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมภายในห้องเรียน
4.ขั้นProduct
ครูให้นักเรียนวาดภาพตามความสนใจ
แล้วแต่งประโยคให้ครบตามที่ครูกำหนด
คำศัพท์ที่ใช้ในสื่อการฟิกสีไม้มีดังนี้
snail
Lion
Dog
Monkey
Deer
Whale
Crab
Bear
Horse
Elephant
Pig
Rabbbit
Turtle
Frog
Dragonfly
****บทสนทนาที่ใช้ในเรื่อง
Conversation 1
1.1 A : Where is lion?
B : A lion is between an elephant and a pig.
1.2 A : Where is an elephant?
B : An elephant is infront of a tree.
Conversation 2
2.1 A : What 's an animal under a snail?
B : A snail is above a frog.
2.2 A : What 's an animal behind a deer?
B: A horse is behind a deer.
Conversation 3
3.1 A : which animal does it start wich the latter "C"?
B : The animal start wich "C" is crab.
A : which animal do they start with the latter "D"?
B : Animal start which "D" are dog and deer.

สื่อการสอน

...........1.ความหมายของสื่อการสอน
สื่อการสอน (Instructional Media) หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูไปถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้เป็นอย่างดี สื่อที่ใช้ในการสอนนี้ อาจจะเป็นวัตถุสิ่งของที่มีตัวตน หรือไม่มีตัวตนก็ได้ เช่น
วัตถุสิ่งของตามธรรมชาติ
ปรากฎการณ์ตามธรรมชาติ
วัตถุสิ่งของที่คิดประดิษฐ์หรือสร้างขึ้นสำหรับการสอน
กิจกรรมหรือกระบวนการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ
แหล่งที่มา : http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page03006.asp
..........2.ประโยชน์ของสื่อการสอน
ประโยชน์หรือคุณค่าของสื่อการสอนออกโดยแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือคุณค่าที่มีต่อผู้เรียน และ คุณค่าที่มีต่อผู้สอน ซึ่งรายละเอียดของแต่ละด้านนั้นมีดังนี้
2.1 คุณค่าของสื่อการสอนที่มีต่อผู้เรียน
เมื่อพิจารณาคุณค่าของสื่อการสอนที่มีต่อผู้เรียน จะพบว่าสื่อการสอนมีคุณค่าต่อผู้เรียนดังต่อไปนี้
(Kemp, J.R. 1989 อ้างใน เชาวเลิศ และกอบกุล, 2543; สุโชติ และ สาโรจน์ 2535; กิดานันท์ 2540)
ช่วยกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน
สื่อการสอนช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจเนื้อหาของบทเรียนที่ถูกนำเสนอผ่านทางสื่อการสอน ความสนใจของผู้เรียนเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการเรียนรู้เพราะอาจนับได้ว่าความสนใจเป็นบันไดขั้นแรกที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ของผู้เรียนในที่สุด
ช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็ว
สื่อการสอนควรเป็นสิ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้เรียนรับรู้และทำความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้อย่างสะดวก ง่าย และรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทเรียนที่เนื้อหามีความสลับซับซ้อนหรือยากที่จะทำความเข้าใจ
ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลในบริบทของการเรียนรู้
บุคคลหรือผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านต่างๆ เช่น เพศ ระดับสติปัญญา ความถนัด ความสนใจ สมรรถภาพทางกาย เป็นต้น
ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
สื่อการสอนที่ถูกออกแบบมาให้ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน ตัวอย่างเช่น การใช้เกมต่อภาพ (jigsaw) แข่งขันกันเป็นกลุ่มเพื่อหาคำตอบจากภาพที่ต่อเสร็จสมบูรณ์
ช่วยให้สามารถนำเนื้อหาที่มีข้อจำกัดมาสอนในชั้นเรียนได้
ตัวอย่างของเนื้อหาที่มีข้อจำกัด เช่น เนื้อหาที่มีความอันตราย เนื้อหาที่เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ในอดีต เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับระยะทางที่ไกล เนื้อหามีค่าใช้จ่ายสูง เป็นต้น
ช่วยให้ผู้เรียนเรียนอย่างกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมกับการเรียน
สภาพการเรียนการสอนที่ดี ต้องจัดให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น (active learning) สื่อการสอนที่ได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดีต้องเป็นสื่อการสอนที่สามารถกระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนทำการเรียนรู้ด้วยความกระตือรือร้น โดยให้ผู้เรียนต้องมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน
ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างเพลิดเพลิน สนุกสนาน และไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน
หากโดยปกติแล้วผู้สอนใช้วิธีการสอนแบบบรรยายเป็นส่วนใหญ่ การใช้สื่อการสอน จะเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศในห้องเรียนให้แตกต่างไปจากสิ่งที่เคยปฏิบัติเป็นประจำในชั้นเรียนทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน
****************************************************
.......2.2คุณค่าของสื่อการสอนที่มีต่อผู้สอน
...เมื่อพิจารณาคุณค่าของสื่อการสอนที่มีต่อผู้สอนจะพบว่าสื่อการสอนมีคุณค่าต่อผู้สอนดังต่อไปนี้
(Kemp, J.R. 1989 อ้างใน เชาวเลิศ และกอบกุล, 2543; สุโชติ และ สาโรจน์ 2535; กิดานันท์ 2540)
ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมการสอนหรือเนื้อหาการสอนเมื่อใช้สื่อการสอนผู้สอนไม่ต้องจดจำเนื้อหาบทเรียนทั้งหมดเพื่อนำมาบรรยายด้วยตนเอง เพราะรายละเอียดของเนื้อหาบทเรียนส่วนใหญ่จะถูกนำเสนอผ่านทางสื่อการสอน ซึ่งช่วยลดงานในการเตรียมตัวสอนลงไปได้มาก
ช่วยสร้างบรรยากาศในการสอนให้น่าสนใจในการสอนด้วยการบรรยายอย่างเดียวนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนควรจะต้องมีความสามารถเฉพาะตัวในการกระตุ้นและตรึงความสนใจของผู้เรียน ตลอดจนการสร้างบรรยากาศในการเรียนให้มีความน่าสนใจ ซึ่งถ้าไม่เป็นเช่นนั้นแล้วการใช้สื่อการสอนจะช่วยสร้างบรรยากาศในการเรียนให้มีความน่าสนใจขึ้นมาได้
ช่วยสร้างความมั่นใจในการสอนให้แก่ผู้สอนในกรณีที่เนื้อหาบทเรียนมีหลายขั้นตอนมีการเรียงลำดับ มีจำนวนมาก หรือยากที่จะจดจำ การใช้สื่อการสอนจะช่วยให้ผู้สอนมีความมั่นใจในการสอนมากขึ้น เพราะเนื้อหาเหล่านั้นสามารถที่จะบันทึกไว้ได้ในสื่อการสอน ตัวอย่างเช่น การใช้แผ่นใส ซึ่งช่วยผู้สอนในเรื่องของการจำลำดับการสอน เนื้อหา ตลอดจนข้อความที่ยากต่อการจดจำ ได้เป็นอย่างดี เมื่อใช้สื่อการสอน ผู้สอนจะมีความมั่นใจในเรื่องลำดับการสอน และเนื้อหาการสอน
กระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอเมื่อผู้สอนเห็นคุณค่าของสื่อการสอนผู้สอนก็จะนำสื่อการสอนมาใช้ในการสอนของตนเอง ซึ่งในขั้นการเตรียมผลิตสื่อการสอน การเลือกสื่อการสอน หรือการจัดหาสื่อการสอน ตลอดจนการแสวงหาเทคนิคใหม่ ๆ มาใช้ในการสอน จะทำให้ผู้สอนเป็นผู้มีความตื่นตัว และมีการพิจารณาเพื่อทำให้การสอนบรรลุวัตถุประสงค์ และดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการปรับปรุงการสอนของตนเอง และทำให้การเรียนการสอนมีความน่าสนใจมาก
.......สรุปได้ว่า สื่อการสอนมีคุณค่าต่อระบบการเรียนการสอนหรือการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ในหลายประการด้วยกัน ซึ่งการพิจารณาคุณค่าของสื่อการสอนอาจทำได้โดยการพิจารณาถึงคุณค่าที่เกิดขึ้นต่อผู้เรียน และผู้สอน ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความสำคัญและมีบทบาทมากในกระบวนการเรียนการสอน ประเด็นสำคัญของคุณค่าของสื่อการสอน คือ สื่อการสอนช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แหล่งที่มา: http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?module=study&chapter=5&sub1=1&sub2=2


3.ประเภทของสื่อการสอน
ประเภทของสื่อการสอน ในทางเทคโนโลยีการศึกษา สามารถจำแนกประเภท ของสื่อการสอน ได้ดังนี้
เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Hardware) ได้แก่ สื่อประเภทที่ใช้กลไกทาง อิเล็กทรอนิกส์ และไฟฟ้า เช่น เครื่องฉาย เครื่องเสียง คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
วัสดุ (Software) ได้แก่ สื่อประเภทที่มีลักษณะ ดังนี้ - ใช้ควบคู่กับเครื่องมือและอุปกรณ์ เช่น ฟิล์ม แผ่นโปร่งใส สไลด์ เทป ฯลฯ -ใช้ตามลำพังของตนเอง เช่น กระดาษ รูปภาพ แผนที่ ลูกโลก หนังสือ ฯลฯ
วิธีการ (Techniques or Methods) ได้แก่ กระบวนการหรือกรรมวิธี ซึ่งใน บางครั้ง อาจต้องใช้วัสดุ และเครื่องมือประกอบกัน เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ได้แก่ การแสดงละคร การเชิดหุ่น การสาธิต การศึกษานอกสถานที่ การจัดนิทรรศการ การใช้คอมพิวเตอร์ ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เป็นต้น
โรเบิร์ต อี. ดี. ดีฟเฟอร์ แบ่งประเภทของสื่อการสอน ดังนี้
วัสดุที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง แผนที่ กระดาษสาธิต ลูกโลก กระดานชอล์ค กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก การแสดงบทบาท นิทรรศการ การสาธิต และการทดลองเป็นต้น
วัสดุฉายและเครื่องฉาย ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใส ภาพทึบ ภาพยนตร์ และเครื่องฉายต่าง ๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ และฟิล์มสตริป เครื่องฉายกระจกภาพ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ เป็นต้น
โสตวัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ แผ่นเสียง เครื่องเล่นจานเสียง เทป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และวิทยุ เป็นต้น
ศาสตราจารย์สำเภา วรางกูร ได้แบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอน ดังนี้
ก. ประเภทวัสดุโสตทัศน์ (Audio-Visual Materials)
1. ประเภทภาพประกอบการสอน(Picture Instructional Materials)
ภาพที่ไม่ต้องฉาย (Unprojected Pictures)
ภาพเขียน (Drawing)
ภาพแขวนผนัง (Wall Pictures)
ภาพตัด (Cut-out Pictures)
สมุดภาพ (Pictorial Books, Scrapt Books)
ภาพถ่าย (Photographs)
ภาพที่ต้องฉาย (Project Pictures)
สไลด์ (Slides)
ฟิล์มสตริป (Filmstrips)
ภาพทึบ (Opaque Projected Pictures)
ภาพโปร่งแสง (Transparencies)
ภาพยนตร์ 16 มม., 8 มม., (Motion Pictures)
ภาพยนตร์ (Video Tape)
2. ประเภทวัสดุอุปกรณ์ลายเส้น (Graphic Instructional Materials)
แผนภูมิ (Charts)
กราฟ (Graphs)
แผนภาพ (Diagrams)
โปสเตอร์ (Posters)
การ์ตูน (Cartoons, Comic strips)
รูปสเก็ช (Sketches)
แผนที่ (Maps)
ลูกโลก (Globe)
3. ประเภทกระดานและแผ่นป้ายแสดง (Instructional Boards and Displays) กระดานดำหรือกระดานชอล์ก (Blackboard,Chalk Board)

กระดานผ้าสำลี (Flannel Boards)
กระดานนิเทศ (Bulletin Boards)
กระดานแม่เหล็ก (Magnetic Boards)
กระดานไฟฟ้า (Electric Boards)
4. ประเภทวัสดุสามมิติ (Three-Dimensional Materials) มี

หุ่นจำลอง (Models)
ของตัวอย่าง (Specimens)
ของจริง (Objects)
ของล้อแบบ (Mock-Ups)
นิทรรศการ (Exhibits)
ไดออรามา (Diorama)
กระบะทราย (Sand Tables)
5. ประเภทโสตวัสดุ (Auditory Instructional Materials)
แผ่นเสียง (Disc Recorded Materials)
เทปบันทึกเสียง (Tape Recorded Materials)
รายการวิทยุ (Radio Program)
6. ประเภทกิจกรรมและการละเล่น (Instructional Activities and Plays)
การทัศนาจรศึกษา (Field Trip)
การสาธิต (Demonstrations)
การทดลอง (Experiments)
การแสดงแบบละคร (Drama)
การแสดงบทบาท (Role Playing)
การแสดงหุ่น (Pupetry)
7. ประเภทเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ (Audio-Visual Equipments)
เครื่องฉายภาพยนตร์ 16 มม. , 8 มม
เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริป (Slide and Filmstrip Projector)
เครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projectors)
เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
เครื่องฉายกระจกภาพ (3 1/4 "x 4" หรือ Lantern Slide Projector)
เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ (Micro-Projector)
เครื่องเล่นจานเสียง (Record Plays)
เครื่องเทปบันทึกภาพ (Video Recorder)
เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)
จอฉายภาพ (Screen)
เครื่องรับวิทยุ(Radio Receive)
เครื่องขยายเสียง(Amplifier)
อุปกรณ์เทคโนโลยีแบบใหม่ต่างๆ (Modern Instructional Technology Devices) เช่น โทรทัศนศึกษา ห้องปฏิบัติการภาษา โปรแกรมเรียน (Programmed Learning) และอื่นๆ
***จากการศึกษาถึงความสำคัญ ตลอดจนการแบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอนข้างต้น ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสื่อการสอนที่มีบทบาทในการทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี แม้สื่อการสอนจะมีความสำคัญและมีประโยชน์มาก แต่ก็ต้องอาศัยเทคนิคในการใช้สื่อการสอนด้วย***
.........4.การออกแบบสื่อการสอน
....องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอน คือ สิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย

.....ลักษณะการออกแบบที่ดี (Characteristics of Good Design)
1.ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้
2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการมำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต
3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ
4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น
1. จุด ( Dots ) องค์ประกอบของการออกแบบ
2. เส้น ( Line )
3. รูปร่าง รูปทรง ( Shape- Form )
4. ปริมาตร ( Volume )
5. ลักษณะพื้นผิว ( Texture )
6.บริเวณว่าง ( Space )
7. สี ( Color )
8. น้ำหนักสื่อ ( Value )
_________________________
__________________________________

..........5.การติดตามและประเมินผลการใช้สื่อการสอนโนเอล และ ริโอนาร์ด
ได้ให้หลักเกณฑ์ในการติดตามและประเมินผลการใช้สื่อดังนี้ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อติดตามผล ดังนี้
ร่วมกันอภิปรายเนื้อหาที่สำคัญ ในระหว่างการใช้โสตทัศนูปกรณ์
ร่วมกันทำความเข้าใจเนื้อหาที่ยังไม่เข้าใจ
ครูอธิบายความคิดรวบยอดให้เด็กเข้าใจได้ชัดเจน
ร่วมกันจัดกิจกรรมต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้
ร่วมกันวางแผนในการนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาอื่น ๆ หรือการเรียนในเรื่องอื่น ๆ ต่อไป
ผู้สอนสามารถสำรวจดูว่าการใช้สื่อการสอนได้บรรลุตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ อาจทำได้ดังนี้
ผู้สอนวิจารณ์ผลการเรียนโดยใช้สื่อการสอนผู้สอนอาจใช้แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่การทดสอบนั้นต้องเป็นไปตามจุดมุ่งหมายเช่นถ้าต้องการทราบความเข้าใจก็ต้องออกแบบทดสอบวัดความเข้าใจไม่ควรใช้แบบทดสอบความจำ และไม่ควรใช้แบบทดสอบที่มีความซับซ้อนจนเกินไปเอ็ดการ์ เดล (Edgar Dale) ให้ผู้ใช้ประเมินผลการใช้สื่อการสอนจากคำถามที่ว่า สื่อการสอนเหล่านั้นมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้หรือไม่ เพียงไร
ให้ภาพพจน์ที่แท้จริงในการสอน
ให้เนื้อหาวิชาตรงตามจุดมุ่งหมาย
เหมาะสมกับวัย สติปัญญา และประสบการณ์ของผู้เรียน
สภาพรูปร่าง และลักษณะของโสตทัศนวัสดุเหล่านั้นเป็นที่พอใจ
มีผู้ให้คำแนะนำแก่ครูในการใช้โสตทัศนวัสดุเหล่านั้นให้ได้ประโยชน์
ช่วยในการสร้างมนุษยสัมพันธ์
ช่วยให้นักเรียนใช้ความคิดพิจารณา
ให้ผลคุ้มค่ากับเวลา ค่าใช้จ่าย และความพยายามที่ได้ทำได้